วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2551

วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2551

เครื่องประดับเงิน

ความรู้เรื่องเครื่องเงิน


เงิน (Silver) ตามปกติแล้วเงินจะมีลักษณะเป็นก้อนทึบหรือเป็นก้อนคล้ายลวดเส็นหนาๆ ในสมัยก่อนเงินมีค่ามากกว่าทองคำมักถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลักคือเป็นเงินตราใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและใช้ในงานโลหะพิเศษ เงินมีความแข็ง 2.5 - 3

เครื่องเงิน เม็ดเงิน เป็นลูกกกลมมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่สุดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งเซ็นติเมตร ไปจนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 2.5 - 3 เซ็นติเมตร มีหลากหลายรูปแบบและลวดลาย เนื่องจากทำด้วยแผ่นเงินบางๆ ที่ตีเป็นรูปต่างๆ พร้อมกับอัดครั่งไว้ภายใน ทำให้สามารถแกะลายได้สะดวกหลายลวดลาย เช่น ถุงเงิน หมอนแปดเหลี่ยม กรวย แมงดา มะเฟือง ตะโพน ฟักทองจารย์ (ตะกรุด) ส่วนใหญ่จำลองมาจากธรรมชาติ เช่น ลายตาราง ลายกลีบบัว ลายดอกพิกุล ลายดอกจันทร์ ลายพระอาทิตย์ ลายดอกทานตะวัน ลายตากบ ประเกือมส่วนใหญ่จะรมดำเพื่อให้ลายเด่นชัด ความสวยงามของประเกือมจึงอยู่ที่ลายที่แกะด้านนอก และความแวววาวของเนื้อโลหะเงินประเกือม เป็นภาษาเขมร ใกล้เคียงกับภาษาไทยว่า ประคำ ประเกือม สุรินทร์ หมู่บ้านโชคตำบลเขวาสินรินทร์ กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ นับเป็นหมู่บ้านแรกที่ทำประเกือมขึ้น เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว เชื่อว่าสืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่อพยพมาจากเขมร โดยสมัยก่อนมีการทำทั้งเครื่องเงิน และเครื่องทองด้วย
ทุกวันนี้เราใช้เงินในงานชุบเงิน งานอัญมณี และอุตสาหกรรมถ่ายภาพ


การเก็บรักษาเครื่องประดับเงิน





1. พยายามหลีกเลี่ยงการถูกสารเคมีต่างๆ เช่นสเปรย์ และเครื่องสำอางที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม เช่นน้ำหอม เป็นต้น หรือหลังจากสวมใส่แล้วให้แช่ในน้ำสะอาดสักครู่ แล้วซับแห้งด้วยผ้าสะอาด
2. เมื่อท่านไม่ได้ใช้เครื่องประดับเป็นเวลานานให้ล้างให้สะอาด และเก็บไว้ในภาชนะปิด เช่นถุงซิบ (ถุงยา) หรือกล่องใส่เครื่องประดับ



การทำความสะอาดเครื่องประดับ


วิธีที่1 ให้นำเครื่องประดับล้างด้วยน้ำยาล้างจานเจือจาง หรือ สบู่ หรือน้ำส้มสายชูเจือจางผสมน้ำอุ่น ใช้แปรงสีฟันขนอ่อน แปรงเบาๆเพื่อให้ฝุ่นละออง และคราบเหงื่อต่างๆหลุดออก แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง หลังจากนั้นซับแห้งด้วยผ้านุ่มสะอาด เครื่องประดับของท่านก็จะดูใหม่อยู่เสมอ วิธีนี้ง่าย ประหยัดและท่านสามารถทำได้เอง
วิธีที่2 ล้างด้วยน้ำยาล้างเครื่องประดับซึ่งมีขายอยู่ทั่วไป แต่ท่านต้องสังเกตุและเลือกพอสมควร เพราะมีคุณภาพ ราคา และวิธีใช้แตกต่างกัน




อันตรายเครื่องประดับที่มีนิกเกิล

เครื่องประดับที่มีนิกเกิลเป็นส่วนประกอบ ซึ่งบางคนมีอาการแพ้เนื่องจาก พิษของของนิกเกิลที่ใช้ทำเครื่องประดับถ้ามีในปริมาณมากเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และถ้าบริเวณที่นิกเกิลสัมผัสเกิดบาดแผล (เช่นการแทงก้านต่างหูเข้าไปในใบหู) ร่างกายจะสร้างกลไกในการขับของเหลว และแอนติบอดีซึ่งมีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบมายังบริเวณที่เป็นบาดแผลและทำปฏิกิริยากับนิกเกิลที่เคลือบบนเครื่องประดับ ทำให้นิกเกิลละลายออกมามีผลให้ผิวหนังบริเวณนั้นเกิดอาการบวม อักเสบ และผื่นคันได้ นอกจากนี้นิกเกิลยังละลายได้ด้วยเหงื่อและซึมเข้าสู่ร่างกายของคนได้ทางผิวหนัง